ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
ELO1 แสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการทำวิจัยและเผยแพร่ผลงานวิจัย มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และมีจรรยาบรรณของนักวิจัย
ELO2 สร้างงานวิจัยที่มีศักยภาพระดับแนวหน้า (Frontier Research) หรือพัฒนานวัตกรรมทางชีวเวชศาสตร์ที่ทันสมัยด้วยตนเอง
ELO3 สื่อสาร ถ่ายทอด และเผยแพร่ความรู้ที่ลุ่มลึกในศาสตร์ทางชีวเวชศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษ ในรูปแบบการนำเสนอผลงานทั้งในเวทีระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนการเขียนบทความทางวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลเป็นที่ยอมรับ
ELO4 บูรณาการความรู้ทางชีวเวชศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ ผ่านงานวิจัยหรือนวัตกรรมทางชีวเวชศาสตร์ได้
ELO5 บริหารจัดการงานวิจัยและทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้
ELO6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยในการสืบค้น รวบรวม ประมวลผล แปลความหมาย การแก้ไขปัญหา และนําเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้
ชื่อ-หลักสูตร ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
ชื่อ-หลักสูตร ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Biomedical Sciences
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีวเวชศาสตร์)
ชื่อย่อ (ไทย) : ปร.ด. (ชีวเวชศาสตร์)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Biomedical Sciences)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : Ph.D. (Biomedical Sciences)
การรับรองหลักสูตร : สภามหาวิทยาลัยรับทราบและให้ความเป็นชอบหลักสูตรนี้ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2564
โครงสร้างหลักสูตร : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ชีวเวชศาสตร์) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
หลักสูตร แบบ 1.1
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
– รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 7 หน่วยกิต
หลักสูตร แบบ 1.2
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
– รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 7 หน่วยกิต
หลักสูตร แบบ 2.1
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
งานรายวิชา (Course Work) ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
– วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
– รายวิชาบังคับไม่นับหน่วยกิต 7 หน่วยกิต
หลักสูตร แบบ 2.2
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 72 หน่วยกิต
งานรายวิชา (Course Work) ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
– วิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
– วิชาเลือก 18 หน่วยกิต
– วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
1. เข้าไประบบการบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร TQF Management ที่ https://appspot.nu.ac.th/tqf2559/Default.aspx
2. ไปที่ Tab เอกสารมคอ.-Curriculum and TQF Documents
3. ระบุคณะ Faculty of Allied Health Sciences ระบุปีการศึกษา และระบุภาคการศึกษา จากนั้นเลือกที่ Tab TQF 3-5
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2565
อาจารย์ประจำหลักสูตร ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2565
แบบประเมินผลการเรียนรู้โดยนิสิตรายชั้นปี (Yearly Learning Outcomes: YLO)
https://shorturl.asia/FTSLM
แบบสอบถามความพึงพอใจความสุขและความผูกพันของนิสิตคณะสหเวชศาสตร์
https://forms.office.com/r/R22vD30Kjq
หน่วยบัณฑิตศึกษา งานวิจัยและห้องปฎิบัติการ
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อาคารบริหารและบริการ ชั้น 2
99 หมู่ 9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-96-6263
เว็บไซต์คณะ: www.ahs.nu.ac.th
เฟซบุ๊กคณะ https://www.facebook.com/AHSNU1996