A :สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์ มีเกณฑ์และขั้นตอน
A :สาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
เกณฑ์พิจารณารับโอนย้าย
สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก มีหลักเกณฑ์การรับโอนย้ายเฉพาะภาคการศึกษาต้น และพิจารณาตามจำนวนนิสิตไม่เกิน 60 คน โดยมีเกณฑ์การรับโอนย้าย ดังนี้
1. ไม่มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
2. ไม่มีตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง (มีใบรับรองแพทย์)
3. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแผนการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 3.50
มีคะแนน A-level อ้างอิงกับเกณฑ์ Admission ปีการศึกษา 2567 ดังนี้
หมายเหตุ : ในกรณีที่นิสิตมีผลการสอบแต่ละรายวิชาไม่ตรงตามที่ภาควิชากำหนด ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร วท.บ. (เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก)
4. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม ระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 3.25 และไม่มีรายวิชาใดติดผลการเรียน F, W, U ของรายวิชาสังกัดเดิม
ขั้นตอนการสมัครการขอย้ายคณะ หรือสาขาวิชา
นิสิตที่ประสงค์จะโอนย้าย ให้นิสิตยื่น NU13 คำร้องขอย้ายคณะ/ขอย้ายสาขาวิชาเรียน เสนอผ่านอาจารย์ที่ปรึกษา และคณบดีคณะต้นสังกัดลงนามให้เรียบร้อย พร้อมเอกสารในข้อ 1 – 4 ณ ห้องปฏิบัติงานนักวิชาศึกษา ชั้น 3 คณะสหเวชศาสตร์ (ระยะเวลาการยื่น NU13 ได้ถึงเดือนพฤษภาคม)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นักวิชาการศึกษา (คุณนิตา วัชรพันธ์) โทร 055-96-6261
สถานที่ ห้องหัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก AHS 1315 ชั้น 3 อาคารบริหารและบริการ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
A :สาขาวิชารังสีเทคนิค มีเกณฑ์และขั้นตอน
A :สาขาวิชากายภาพบำบัด มีเกณฑ์และขั้นตอน
เกณฑ์พิจารณารับโอนย้าย
1. พิจารณาจำนวนนิสิตที่สามารถรับย้ายได้จากจำนวนที่นั่งเหลือของแต่ละปีการศึกษา (จำนวนเป้าหมายปีการศึกษาละ 65 คน)
2. ผู้มีสิทธิ์สมัครต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยรวม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 3.00 จากสาขาวิชาเดิม
3. หากได้รับโอนย้าย นิสิตที่ย้ายเข้ามาจะถือว่าเป็นนิสิตตกแผนการศึกษา
4. นิสิตที่ย้ายเข้ามาจะต้องใช้ระยะเวลาในการเรียนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากายภาพบำบัด ตามแผนการศึกษา
คุณสมบัติเฉพาะ
1. ไม่มีความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติงาน
2. ไม่มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรง เช่น โรคจิต (Psychosis) โรคประสาทรุนแรง (Sever Neurosis) หรือโรคบุคลิกภาพแปรปรวน โดยเฉพาะ Antisocial Personality หรือ Borderline Personality รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3. ไม่เป็นผู้ที่มีความพิการทางสายตา ดังนี้
3.1 ตาบอดทั้งสองข้าง
3.2 สายตาไม่ปกติ เมื่อรักษาโดยใช้แว่นแล้วยังมีสายตาต่ำกว่า 6/24 ทั้งสองข้าง
3.3 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง
ขั้นตอนการสมัครการขอย้ายคณะ หรือสาขาวิชา
1. ผู้สมัครเขียนคำร้อง NU13 จากคณะเดิม/สาขาวิชาเดิม โดยมีการลงนามจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. แนบเอกสารประกอบการสมัคร ได้แก่
3. ผลการเรียน ม.6 (โดยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญที่เน้นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หรือเทียบเท่า)
4. คะแนนการทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (TGAT : Thailand General Aptitude Test) และคะแนนการทดสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ (A-Level : Applied Knowledge Level) ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
5. ผลการเรียนตลอดปีการศึกษาของชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเดิม รวมถึงผลการเรียนชั้นปีอื่นๆ จนถึงปัจจุบัน (ถ้ามี)
6. ผลการตรวจตา และผลทดสอบสุขภาพจิต (นำมาแสดงในวันสัมภาษณ์)
7. ยื่นเอกสารได้ที่นักวิชาการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขากายภาพบำบัด
8. รอรับการเรียกสัมภาษณ์ ประมาณช่วงเดือน มิถุนายน ของทุกปี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นักวิชาการศึกษา (คุณฐิติกัญญารัตน์ บุตรจันทร์จรัส) โทร 055-96-6262
สถานที่ ห้องหัวหน้าภาควิชากายภาพบำบัด AHS 1314 ชั้น 3 อาคารบริหารและบริการ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
A หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต มีเกณฑ์และขั้นตอน
เกณฑ์พิจารณารับโอนย้าย
1. จำนวนนิสิตในชั้นปีที่นิสิตขอโอนย้ายมา จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 35 คน
2. กรณีที่มีคะแนนสอบ GAT/ PAT2 ต้องมีคะแนนสอบ GAT ไม่ต่ำกว่า 60 คะแนน และ PAT2 ไม่ต่ำกว่า 90 คะแนน หรือ กรณีที่มีคะแนนสอบ TGAT/A-level ต้องมีคะแนนสอบ A-level รหัสวิชา 61,64 และ 66 ไม่ต่ำกว่า 22 คะแนน
3. กรณีคะแนนสอบ GAT/ PAT2 หรือ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ แต่นิสิตมีการลงทะเบียนเรียนในรายวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ซึ่งผลการเรียนรายวิชานั้นๆ ต้องได้เกรด C ขึ้นไป
4. กรณีมีนิสิตผ่านเกณฑ์จำนวนมากกว่าเป้าหมายการรับนิสิต จะพิจารณาเรียงตามลำดับคะแนน
ขั้นตอนการสมัครการขอย้ายคณะ หรือสาขาวิชา
1. นิสิตยื่นคำร้องก่อนเปิดภาคเรียน อย่างน้อย 1 เดือน ซึ่งภาควิชาฯ รับโอนย้ายเฉพาะในภาคเรียนต้นเท่านั้น**
2. นิสิตยื่นคำร้อง (NU13) โดยผ่านความเห็นจากต้นสังกัดเดิมให้เรียบร้อยแล้ว พร้อมแนบเอกสาร ดังนี้
2.1 ผลคะแนนสอบ GAT/PAT2 ที่มีอายุการสอบไม่เกิน 2 ปี หรือคะแนนสอบ TGAT/A-level ที่มีอายุการสอบไม่เกิน 2 ปี
2.2 ผลการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทย์-คณิต)
2.3 ผลการเรียนปัจจุบัน
3. ภาควิชาทัศนมาตรศาสตร์พิจารณาคัดเลือกนิสิต และแจ้งผลให้นิสิตทราบก่อนเปิดภาคเรียน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นักวิชาการศึกษา (คุณวิภาวรรณ ช่อสูงเนิน) โทร 055-96-6241 หรืออีเมล Wiphawanc@nu.ac.th
สถานที่ ห้องหัวหน้าภาควิชาทัศนมาตรศาสตร์ AHS 1310 ชั้น 3 อาคารบริหารและบริการ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
A : เบื้องต้นให้นิสิตเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ เพื่อขอคำปรึกษาในรายวิชาที่นิสิตจะต้องลงทะเบียนเรียน ช่วงปฏิทินการศึกษากำหนด (https://www.reg2.nu.ac.th/registrar/calendar.asp?avs1017962331=1)
A : รายวิชาของสาขาวิชาหรือรายวิชาของคณะสหเวชศาสตร์ ให้นิสิตดาวน์โหลดแบบฟอร์ม คลิ๊กAHSNU 6http://www.ahs.nu.ac.th/th/index.php/2013-11-25-07-47-52/2013-11-25-07-48-12.html
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นิสิต กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มของคณะ
2.นิสิต ผ่าน อ.ที่ปรึกษาทางวิชาการ พิจารณาลงนาม
3.นิสิต เสนอ อ.ผู้สอนรายวิชา พิจารณาลงนาม
4.นิสิตนำส่งนักวิชาการศึกษา สาขาวิชา เพื่อเสนอตามระบบต่อไป
A : นิสิตสามารถทำเรื่องขอเทียบโอนรายวิชาได้ โดยดาวน์โหลดคำร้องคลิ๊กNU14https://reg7.nu.ac.th/registrar/e-form/NU14.pdf
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นิสิตกรอกข้อมูลตามคำร้อง NU14 และลงนาม
2.นิสิต ผ่าน อ.ที่ปรึกษาทางวิชาการ พิจารณาลงนาม
3.นิสิตนำส่งนักวิชาการศึกษา สาขาวิชา เพื่อเสนอตามระบบต่อไป
นิสิตที่ไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมตามปฏิทินที่กำหนด ในระบบ reg ของนิสิตจะขึ้น
“พ้นสภาพ” ให้นิสิต ดาวน์โหลดคำร้องขอคืนสภาพการเป็นนิสิต https://reg7.nu.ac.th/registrar/e-form/NU07.pdf
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นิสิตกรอกข้อมูลตาม NU 7 และลงนาม
2.นิสิตนำส่งนักวิชาการศึกษา สาขาวิชา เพื่อเสนอตามระบบต่อไป
A : นิสิตที่ย้ายสาขาวิชาหรือย้ายคณะ สามารถได้เกียรตินิยม ทั้งนี้เป็นไปตามข้อบังคับระดับปริญญาตรี ดังนี้
ใส่สรุปข้อบังคับมาได้เลยค่ะ คลิ๊ก (แนบลิ้งค์มาด้วย)
1.เรียนรายวิชาต่าง ๆ ครบตามหลักสูตร
2.ไม่มีรายวิชาใดได้รับอักษร I หรืออักษร P
3.การศึกษาเพื่อปริญญาตรี 4ปี สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษา
4.การศึกษาเพื่อปริญญาตรี 6ปี สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 10 ภาคการศึกษา
5.มีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2.00
6.ได้รับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ และความรู้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
A : เกียรตินิยมอันดับที่ 1 มีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป
A : เกียรตินิยมอันดับที่ 2 มีค่าระดับขั้นสะสมเฉลี่ยตลอดหลักสูตรตั้งแต่ 3.25 ถึง 3.49
A : แผนการศึกษาของหลักสูตร สามารถดูได้ที่
-แผนการศึกษาของหลักสูตร MT
-แผนการศึกษาของหลักสูตร CTT
-แผนการศึกษาของหลักสูตร RT
-แผนการศึกษาของหลักสูตร PT
-แผนการศึกษาของหลักสูตร OD
http://www.ahs.nu.ac.th/th/index.php/2013-10-24-02-25-08.html
โดยเลือกสาขาวิชา และหลักสูตรที่นิสิตเรียน
A : สามารถดูได้ที่ https://reg7.nu.ac.th/registrar/officercodelist.asp
หน้าจอจะขึ้น “กลุ่มอาจารย์” และให้นิสิตคลิ๊กเลือก คณะ ลำดับ 214 คณะสหเวชศาสตร์ นิสิตจะเห็นรหัสอาจารย์ ตามภาควิชาที่นิสิตสังกัด
A : อาจจะทำได้แต่ให้ติดต่อกับนักวิชาการศึกษาเพื่อสอบถามข้อมูลต่อไป
ใส่แต่ละภาควิชาติดต่อนักวิชาการการศึกษา ชื่อ เบอร์ติดต่อค่ะ
1.MT คุณวรรณภักสร โทร 055-96-6240
2.CTT คุณนิตา โทร 055-96-6261
3.RT คุณวินัย โทร 055-63-6265
4.PT คุณฐิติกัญญารัตน์ 055-96-6262
5.OD คุณวิภาวรรณ โทร 055-69-6241
A : นิสิตสอบถามรายละเอียดได้ที่ เบอร์ 055-96-8300 งานทะเบียนกองบริการการศึกษา
A : นิสิตที่จะทำการผ่อนผันค่าเทอม ให้ดาวน์โหลดคำร้องทั่วไปNU18 https://reg7.nu.ac.th/registrar/e-form/NU18.pdf โดยดำเนินการก่อนล่วงหน้า 7 วัน ก่อนที่จะถึงวันกำหนดชำระค่าเทอม
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นิสิตกรอกข้อมูลตามคำร้อง NU18 และลงนาม
2.นิสิต ผ่าน อ.ที่ปรึกษาทางวิชาการ พิจารณาลงนาม
3.นิสิตนำส่งนักวิชาการศึกษา สาขาวิชา เพื่อเสนอตามระบบต่อไป
A : นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียน ช่วงเพิ่ม – ถอน ได้ โดยดูปฏิทินการศึกษา https://www.reg2.nu.ac.th/registrar/calendar.asp?avs1017962331=1
A : นิสิตสามารถขอถอนรายวิชาได้ โดยดาวน์โหลด NU11 https://reg7.nu.ac.th/registrar/e-form/NU11.pdf
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นิสิตกรอกข้อมูลตามคำร้อง NU11 และลงนาม
2.นิสิต ผ่าน อ.ที่ปรึกษาทางวิชาการ พิจารณาลงนาม
3.นิสิตนำส่งงานทะเบียนเพื่อเสนอตามระบบต่อไป
A : ช่วงที่กำหนดให้นิสิตลงทะเบียนให้นิสิต กรอกเลข 999999 และชำระค่าธรรมเนียมรักษาสภาพนิสิตตามที่กำหนดในระบบregของนิสิต
A : สามารถขอลาพักการศึกษาได้ โดยดาวน์โหลดคำร้องNU17 https://reg7.nu.ac.th/registrar/e-form/NU17.pdf
แล้วมายื่นที่ใคร ให้ช่วยดำเนินการ
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นิสิตกรอกข้อมูลตามคำร้อง NU17 และลงนาม
2.นิสิต ผ่าน อ.ที่ปรึกษาทางวิชาการ พิจารณาลงนาม
3.นิสิตนำส่งนักวิชาการศึกษา สาขาวิชา เพื่อเสนอตามระบบต่อไป
A : นิสิตยื่นสำเร็จการศึกษาได้ที่ ระบบ reg NU25 ของนิสิตเอง ซึ่งจะมีขั้นตอนชี้แจ้งนิสิตจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง โดยยื่นตามที่ปฏิทินการศึกษากำหนด
แล้วขั้นตอนเป็นยังไง อยากให้อ่านแล้วทราบขั้นตอน
https://reg.nu.ac.th/registrar/petitionGraduate/petitiongradaute.htm?avs6377059=4
A : สามารถยื่นสำเร็จการศึกษาล่าช้ากว่ากำหนดได้ โดยดาวน์โหลด
https://reg7.nu.ac.th/registrar/e-form/NU09.pdf
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นิสิตกรอกข้อมูลตามคำร้อง NU9 และลงนาม
2.นิสิตนำส่งนักวิชาการศึกษา สาขาวิชา เพื่อเสนอตามระบบต่อไป
A : นิสิตติดต่อยื่นแบบคำร้องได้ที่ กองบริการการศึกษา https://reg7.nu.ac.th/registrar/e-form/NU21.pdf
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นิสิตกรอกข้อมูลตามคำร้อง NU21 และลงนาม
2.นิสิต นำส่งงานทะเบียนกองบริการการศึกษา ดำเนินการต่อไป
A : นิสิตดาวน์โหลด https://reg7.nu.ac.th/registrar/e-form/NU15.pdf และยื่นแบบคำร้องได้ที่ กองบริการการศึกษา
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.นิสิตกรอกข้อมูลตามคำร้อง NU21 และลงนาม
2.นิสิต นำส่งงานทะเบียนกองบริการการศึกษา ดำเนินการต่อไป
A : สามารถดูข้อมูลและรายละเอียดได้ที่ งานรับเข้าศึกษาhttps://www.admission.nu.ac.th/undergrad2.php
A : สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคนิคการแพทย์ พยาธิวิทยาคลินิก พิษวิทยา ชีวเคมี ชีวเวชศาสตร์
สามารถดูข้อมูลและรายละเอียดได้ที่ http://www.ahs.nu.ac.th/th/index.php/2013-10-24-02-25-08/86-course/151-2014-01-27-07-07-49.html
A : ผู้ที่จบการศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก สามารถทำงานในโรงพยาบาลทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน ในหน่วยงานที่เกี่ยวกับโรคหัวใจ ได้แก่ ศูนย์โรคหัวใจ ห้องผ่าตัด ห้องสวนหัวใจ แผนกการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจแบบไม่รุกราน โดยทำหน้าที่ควบคุมการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมขณะทำงารผ่าตัดหัวใจ การสวนหัวใจ ติดตามประเมินการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดในขณะตรวจสวนหัวใจ การตรวจประเมินการทำงานของหัวใจ ปอด และหลอดเลือดแบบไม่รุกราน รวมถึงยังสามารถทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ในบริษัททั้งในและต่างประเทศ
สามารถดูข้อมูลและรายละเอียดได้ที่ http://www.ahs.nu.ac.th/th/index.php/2013-10-24-02-25-08/86-course/152-2014-01-27-07-08-24.html
A : ผู้ที่จบการศึกษาสาขาวิชารังสีเทคนิค สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อปฎิบัติงานทางด้านรังสีเทคนิค ทั้ง 3 ด้าน คือ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ภาคใต้สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค
ในด้านรังสีวินิจฉัยเป็นผู้ปฏิบัติการตรวจ ตั้งองค์ประกอบ บันทึกภาพ และควบคุมคุณภาพของถ่ายภาพรังสีทั่วไป การตรวจพิเศษด้วยสารทึบรังสีด้วยเครื่องส่องตรวจทางรังสี เครื่องเอกซเรย์เต้านม เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องเอกซเรย์ระบบหลอดเลือด เครื่องตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และเครื่องตรวจด้วยสนามแม่เหล็กแรงสูง เป็นต้น
ในด้านรังสีรักษา เป็นผู้ปฏิบัติการใช้เครื่องจำลองการรักษา เพื่อกำหนดตำแหน่งการรักษา และใช้เครื่องฉายรังสีโคลอลต์-60เครื่องเร่งอนุภาค เครื่องสอดใส่สารกัมมันตรังสี เป็นต้น
ในด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นผู้ปฏิบัติการด้านเทคนิคการตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยสารเภสัชรังสี โดยการตั้งองค์ประกอบการถ่ายภาพและประมวลผลข้อมูลจากเครื่องถ่ายภาพรังสีแกมมาและเครื่องถ่ายภาพรังสีจากอนุภาพโพสิตตรอนหลายระนาม เป็นต้น หรือสามารถเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้แทนจำหน่ายเครื่องทางการแพทย์
และสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น รังสีเทคนิค ฟิสิกส์การแพทย์ วิทยาศาสตร์รังสี ฉายาเวชศาสตร์ ชีวเวชศาสตร์ วิศวกรรมนิวเคลียร์
สามารถดูข้อมูลและรายละเอียดได้ที่
http://www.ahs.nu.ac.th/th/index.php/2013-10-24-02-25-08/86-course/153-2014-01-27-07-08-58.html
A : อาชีพสามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1.เป็นนักกายภาพบำบัดในสถานบริการสุขภาพทุกระดับทั้งในภาครัฐ เอกชน และสถานศึกษา
2.เป็นผู้ประกอบการทางกายภาพบำบัด รวมถึงประกอบอาชีพอิสระ
3.ศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก สาขากายภาพบำบัดหรือ สาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ
A : 1.ประกอบวิชาชีพในทางทัศนมาตรศาสตร์ (Optometry) ทัศนศาสตร์อุตสาหกรรม (Ophthalmic Industry) ทัศนวิทยาศาสตร์ (Vision Science) โดยสามารถตรวจวัด วินิจฉัย ดูแล และฟื้นฟู ความผิดปกติของการมองเห็น ด้วยกรรมวิธีการใช้แว่นตา เลนส์สัมผัส และการฝึกบริหารกล้ามเนื้อตา ซึ่งปฏิบัติงานในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หรือในสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องทางสายตา
2.ประกอบอาชีพส่วนตัวโดยเปิดสถานพยาบาล คลินิกทัศนมาตร คลินิกสายตา ร้านตรวจวัดสายตาและประกอบแว่น
3.เป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิจัยในสถาบันอุดม ศึกษา สถาบันวิจัย
4.เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย หรือทำงานในองค์กรภาครัฐ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับทัศนมาตรศาสตร์
เป็นผู้แทนหรือผู้เชี่ยวชาญในบริษัทผลิตหรือจัดจำหน่ายเลนส์ หรือเครื่องมืออุปกรณ์ทางทัศนมาตร
สามารถดูข้อมูลและรายละเอียดได้ที่ http://www.ahs.nu.ac.th/th/index.php/2013-10-24-02-25-08/86-course/155-2014-01-27-07-10-02.html